ชนิดของโลหิต Blood Group
ตารางการรับได้ของเลือด ทั้งผู้ให้ และผู้รับ
ผู้ให้/ผู้รับ | A | B | AB | O |
A | 1 | 0 | 1 | 0 |
B | 0 | 1 | 1 | 0 |
AB | 0 | 0 | 1 | 0 |
O | 1 | 1 | 1 | 1 |
ความหมาย
1 = ให้กันได้
0= ให้กันไม่ได้
ปกติเม็ดเลือดแดงจะแบ่ง ย่อยๆ ออกเป็นสองกล่มใหญ่ ๆ คือ
แบ่งตาม หมู่โลหิต
- ระบบ ABO หมู่โลหิต พบว่าในประเทศไทยแบ่งได้ ดังนี้
- O = 37.8%
- B = 33.5%
- A = 21.3%
- AB = 7.4 %
ข้อมูล ปี พ.ศ. 2543
- ระบบ Rh แบ่งออกได้ 2 หมู่ คือ
- Rh บวก (Positive)คนไทยส่วนใหญ่มีหมู Rh บวก ประมาณ 99.7% ของหมูโลหิต เรียกว่า "หมู่โลหิต ธรรมดา"
- Rh ลบ (Negative) พบว่าคนไทย มีเพียง 0.3% หรือ 1000 คน จะมีเพียง 3 คน เท่านั้น ซึ่งเรียกหมู่โลหิตนี้ว่า "หมูโลหิต หายาก"หรือ "หมูโลหิตพิเศษ"
ความสำคัญของหมู่โลหิต Rh ลบ (Negative)
- การรับโลหิต ของผู้ป่วยRh ลบ นั้นจำเป็นต้องรับการรักษาพยาบาลเหมือนกัน แต่ ถ้าจำเป็น ไม่สามารถจัดหาได้สามารถรับโลหิตบวก ได้แต่ เฉพาะครั้งแรกเท่านั้นเพราะผู้ป่วย จะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาหากรับ Rh บวก เข้าไปอีกก็จะก่อให้เกิดปฏิกริยาต่อต้าน คือ ภูมิต้านทาน ในร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นจะไปทำลายเม็ดเลือดแดงของ Rh บวก ทำให้ช็อคถึงชีวิต ได้
- กรณี มารดามีหมู่โลหิต Rh ลบ แต่บิดามีหมู่โลหิต Rh บวกลูกคนแรก จะมี Rh บวก เหมือนพ่อ แต่ มารดาจะสร้าง ภูมิต้านทานต่อเม็ดโลหิตของลูกในครรภ์ซึ่งท้องแรกส่วนใหญ่ จะปลอดภัย แต่ ครรภ์ถัดมา ถ้าเป็น Rhลบเหมือน แม่ก็จะไม่เป็นปัญหาแต่ถ้าเป็นRh บวกจะส่งผลให้ภูมิต้านทานที่แม่สร้าง ขึ้นมาในท้องแรกจะไปทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกในครรภ์ถัดมาทันทีจะทำให้ลูกในครรภ์ถัดมา จะมีตัวเหลือง ตาเหลืองหรืออาจตายในครรภ์มารดา ได้ ดังนั้นมารดาที่มีหมู่โลหิตRh ลบการตั้งครรภ์นั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมการป้องกัน ไม่ให้เกิดอันตรายแก่ลูกได้

ข้อมูล : ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย.เกร็ดเล็กๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับ โลหิตเรา ,บอร์ด นิทรรศการ.
picture1 : http://www.medindia.net/patients/patientinfo/bloodgroup.htm
picture2: http://commons.wikimedia.org/wiki/File:ABO_blood_group_diagram.svg
picture3: http://www.edward.org/AEImages/adam04/graphics/images/en/19789.jpg
picture4: http://www.edward.org/AEImages/adam04/graphics/images/en/19790.jpg
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับส่วนประกอบโลหิต
องค์ประกอบของเลือด หมู่เลือดและการแข็งตัวของเลือด
Saksiri Sirikul Research