สุขภาพสำหรับผู้หญิง วัย 40 ปีขึ้นไป

วิตามินและสารอาหาร สำหรับดูแลสุขภาพผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป
ถ้าผู้หญิงเรามีสุขภาพดีทั้งกายและใจ จะเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความแข็งแกร่งในการทำหน้าที่ตามบทบาทต่าง ๆ ที่มีในชีวิตประจำวัน และในการสร้างความสัมพันธ์ที่มีความสุขกับผู้คนรอบตัว โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทำงาน มีภาระความรับผิดชอบด้านการงานและครอบครัวเพิ่มมากขึ้นก่อให้เกิดความเครียดการพักผ่อนน้อยและไม่มีเวลาดูแลตัวเองผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไปจะเริ่มมีภาวะขาดฮอร์โมนเพศหญิง ส่งผลกระทบต่อสมอง จิตใจ อารมณ์ มีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต อาการต่าง ๆ ที่จะสังเกตทราบได้มี
1 ประจำเดือนไม่แน่นอน บางทีมาถี่ ๆ บางทีก็ทิ้งช่วงหลายเดือนสลับกับการมาสม่ำเสมออยู่ระยะหนึ่ง บางคนจะมีเลือดประจำเดือนออกแบบแปลก ๆ เช่น เลือดประจำเดือนมากกว่าปกติหรือมาทุก 2-3 สัปดาห์
2 อาการร้อนวูบวาบ ราว ๆ 3 ใน 4 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีอาการดังนี้ อาการร้อนวูบวาบจะรำคาญมากที่สุดใน 2-3 ปีแรกที่ประจำเดือนหมด โดยมีความรุนแรงและความถี่ หรือระยะเวลาเป็นสั้นยาว ต่าง ๆ กันไป ในผู้หญิงแต่ละคน แต่โดยมากจะบรรเทาเบาบาลงใน 1-2 ปี
3 อาการนอนไม่หลับ ไม่ว่าจะเป็นความลำบากในการหลับหรือตื่นบ่อย ๆ กลางดึก หรือตื่นเช้ากว่าปกติ
4 อารมณ์แปรปรวน เกิดอาการซึมเศร้า หรือหงุดหงิด
5 ปัญหาของช่องคลอด ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อของผนังช่องคลอดบางลง ความยืดหยุ่น และความหล่อลื่นลดลง ทำให้การร่วมเพศไม่สะดวกราบรื่น
6 การเจริญพันธุ์น้อยลง เนื่องจากการตกไข่ไม่แน่นอนทำให้โอกาสตั้งครรภ์ลดลง แต่ก็อาจตั้งท้องได้ทุกเมื่อ จนกว่าประจำเดือนหยุดมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม
7 การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง ความเต่งตึงและความชุ่มชื้นของผิวหนัง มีผลจากการที่ร่างกาย สร้างสารคอลลาเจน เมื่อฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนลดลง การผลิตสารคอลลาเจนก็จะลดลงด้วย ผิวหนังของหญิงวัยหมดประจำเดือน จะเริ่มบางลง มีความยืดหยุ่นลดลง แห้ง และเหยี่ยวย่นง่ายขึ้น
อะไรจะเกิดขึ้นหลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน?
นอกจากอาการต่าง ๆ ที่กล่าวถึงแล้ว ผลระยะยาวที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะเมื่อประจำเดือนหยุดมาอีกหลายอย่าง แต่ละอย่างล้วนมีผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ เช่น
ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis)
ซึ่งเป็นโรคของกระดูกที่เกิดจากกระดูกบอบบางลง มีรูพรุนมากขึ้น เพราะฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนทดแทนกระดูกเก่าที่สลายไป โดยกระบวนการดังกล่าวจะถึงจุดสูงสุด เมื่อผู้หญิงมีอายุ 25-30 ปี เมื่อระดับเอสโตรเจนเริ่มลดลง ร่างกายสูญเสียกระดูกเร็วขึ้นกว่าการสร้างชดเชย อันตรายที่ตามมาคือ เวลาหกล้มจะพบว่า กระดูกหักง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก

โรคหัวใจขาดเลือด
วงการแพทย์พบว่า เอสโตรเจนช่วยปกป้อง คุ้มครองไม่ให้ผู้หญิงเป็นโรคหัวใจ โดยช่วยเพิ่มระดับของไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และช่วยลดไขมันชนิดเลว (LDL) นอกจากนี้ยังทำให้เส้นเลือดแดงมีความยืดหยุ่น ทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะกลุ่มกัน เสริมความแข็งแรงของหัวใจ เมื่อให้เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเสริมแก่หญิงวัยหมดประจำเดือนทุกราย กลับปรากฏว่าผู้หญิงบางคน เมื่อได้เอสโตรเจนแล้ว เลือดในเส้นเลือดดำคั่งแข็งตัวง่ายขึ้น ดังนั้นการตัดสินใจจะใช้ฮอร์โมนเสริมหรือไม่อย่างไร จึงต้องให้แพทย์พิจารณาตัดสินใจร่วมกับท่าน

ปัญหาทางเดินปัสสาวะ
ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อบุท่อปัสสาวะบางลง และความแข็งแรงของกระเพาะปัสสาวะลดลง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือทางเดินปัสสาวะติดเชื้อได้ง่าย
น้ำหนักขึ้น อัตราการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายหญิงวัยหมดประจำเดือนจะลดลง ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว (อ้วนแบบลงพุง)
ผลกระทบในระยะยาวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในผู้หญิงสูงวัย 40 ปีขึ้นไป
ข้อมูลของโรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่า ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่พบบ่อยในผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไปจำนวน 10 อันดับแรก ได้แก่- ไขมันในเส้นเลือดสูง (ร้อยละ 79)
- กลุ่มอาการของสตรีวัยหมดประจำเดือน (ร้อยละ 54)
- กระดูกบาง (ร้อยละ 29)
- ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 35)
- โรคเต้านมที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านม (ร้อยละ 30)
- กรดยูริคในเลือดสูง (ร้อยละ 29)
- โรคอ้วน (ร้อยละ29)
- โรคกระดูกพรุน (ร้อยละ 29)
- ข้ออักเสบ (ร้อยละ 20)
- เบาหวาน (ร้อยละ 6)

สารอาหารที่จำเป็นต่อผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไป
สารอาหารที่ช่วยปรับสมดุลระบบฮอร์โมน เช่น ไฟโตเอสโตรเจน จากาถั่วเหลือง เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้หญิงวัยนี้โดยไฟโตเอสโตรเจนจะมีบทบาทเป็นฮอร์โมนทดแทน แบบธรรมชาติ ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน ลดระดับไขมันในเลือดซึ่งจะก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม และป้องกันกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน การรับประทานสารอาหารที่ให้ไฟโตเอสโตรเจน จะมีความปลอดภัยกว่าการรับประทานฮอร์โมนทดแทนเนื่องจากการรับประทานฮอร์โมนทดแทน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม โรคหัวใจและหลอดเลือด
สารอาหารบำรุงกระดูก
- แคลเซี่ยม ช่วยเพิ่มมวลกระดูกสูงไม่เพียงพอ ทำให้กระดูกแตกหักได้ง่าย แม้จะได้รับการกระแทกเพียงเล็กน้อย ในผู้หญิงวัยนี้การเสริมแคลเซี่ยม จึงมีความจำเป็นอย่างมาก
- วิตามินดี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซี่ยมได้ดีขึ้นเพื่อความมั่นใจว่าร่างกายจะได้รับแคลเซี่ยมได้อย่างเต็มที่

สารอาหารบำรุงสมอง
- สารสกัดจากใบแปะก๊วย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมอง ทำให้ผนังหลอดเลือด มีความยืดหยุ่นและแข็งแรงอีกทั้งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงป้องกันการเสื่อมของเซลล์สมองจากการทำลายของอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคความจำเสื่อม และยังมีคุณสมบัติช่วยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะอุดตันในหลอดเลือดสมอง

สารอาหารบำรุงสายตา
- วิตามิน เอ มีหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นโดยเฉพาะในการที่มีแสงสว่างน้อย ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคตาบอดกลางคืน (Night bllndness)
- ลูติน สารประกอบกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบมากที่สุดบริเวณจุดศูนย์กลาง ของเรตินา ช่วยดูดซับแสงสีน้ำเงินก่อนจะมีผลเสียต่อดวงตา มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเรตินาและเลนส์ตา

สารอาหารบำรุงระบบประสาท ช่วยเพิ่มการเผาผลาญอาหาร และบำรุงโลหิต
เมื่ออายุมากขึ้น การทำงานของระบบประสาทจะต้องด้อยลง การดูดซึมสารอาหาร และประสิทธิภาพในการเผลผลาญอาหารก็ลดลงด้วย ส่งผลให้ผู้หญิงวัยนี้มีโอกาสขาดวิตามินได้แทบทุกตัว กลุ่มวิตามินที่บทบาทสำคัญในการบำรุงระบบประสาท ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญสารอาหารได้ดีคือ กลุ่มวิตามินบี ซึ่งยังมีความสำคัญต่อขบวนการสร้างเม็ดเลือด เพื่อให้สามารถนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ได้อย่างทั่วถึง ทำให้ร่างกายพร้อมเผชิญกับภารกิจได้ตลอดวันสารอาหารต้านอนุมูลอิสระ และชะลอความชรา
อนุมูลอิสระ เป็นสารพิษที่เกิดขึ้นตลอดเวลาภายในร่างกายปกติร่างกายเราสามารถกำจัดได้เองระดับหนึ่งแต่เมื่อคนเราสูงวัยขึ้นประสิทธิภาพการกำจัดจะลดลง ทำให้เกิดความเสื่อมของร่างกายผลของความเสื่อมที่เราเห็นคือผิวขาดความยืดหยุ่น เกิดริ้วรอยขณะเดียวกันก็เกิดความเสื่อมของอวัยวะภายในร่างกาย ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความจำเสื่อม มะเร็ง ฯลฯ ดังนั้น จึงควรได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่มีปริมาณมากพอ และมีความหลากหลายที่จะช่วยเสริมฤทธิ์กัน เพื่อชะลอความเสื่อมและการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี โคแอนไซม์ คิวเทน กรดอัลฟา ไลโปอิก รูติน และแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น สังกะสี ซิลิเนียม

กลุ่มแร่ธาตุที่จำเป็น
แร่ธาตุที่มีความจำเป็นในกระบวนการเผาผลาญเพื่อให้ได้พลังงานของร่างกาย ในการใช้ชีวิตประจำวัน ช่วยเรื่องต้านความเครียด และช่วยเพิ่มความแข็งแรง ให้กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เสริมสร้างสุขภาพที่ดี ได้แค่ ธาตุเหล็ก สังกะสี แมกนิเชี่ยม โครเมียม
คำแนะนำในการเลือกซื้อ
ในปัจจุบัน มีสูตรวิตามินและสารอาหารต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นผ่านการคัดสรรทั้งชนิด และปริมาณที่เพียงพอ บรรจุในแคปซูลนิ่ม เพื่อความสะดวกในการดูแลสุขภาพผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะดังนี้
ประโยขน์ต่อสุขภาพ | วิตามิน/สารอาหาร |
ปรับสมดุลระบบฮอร์โมน | สารสกัดจากจมูกถั่วเหลือง |
บำรุงกระดูก | แคลเซี่ยม วิตามินดี 3 |
บำรุงสมอง | สารสกัดจากไบแป๊ะก๊วย |
บำรุงสายตา | วิตามิน เอ, ลูติน |
บำรุงระบบประสาท ช่วยเพิ่มการเผาผลาญอาหาร บำรุงโลหิต |
กลุ่มวิตามินบี : บี1 , บี2, นิโคตินาไมด์ แคลเซี่ยม แพนโทธีเนต, บี6, บี12 กรดโฟลิก, ไบโอติน, ไอโนซิทอล |
ต้านอนุมูลอิสระ และชลอความชรา |
วิตามิน อี, วิตามิน ซี, ซิลีเนี่ยม, โครเอ็นไซม์ คิวเทน, กรดอัลฟา ไลโปอีก, รูติน ไบโอฟลาโวนอยด์ |
แร่ธาตุที่จ่ำเป็นต่อสุขภาพ | ธาตุเหล็ก, ธาตุสังกะสี, แมกนิเซี่ยม, โครเมียม |
เอกสารอ้างอิง
1. L Shar et al, The Real Vitamin and Mineral Bock 3rd edition
2. C Ronni, Micronutrient requirement in older woman, Am J Clin Nutr 2005;81 (suppl): 1240S5S
3. J Bruno et al, Aging , Present knowledge in nutrition 8th edtion 2001;339-446
4. www.pdrhealth.com
5. www.medlineplus.com
6. www.bangkokhospital.com
ข้อมูล MEGA We Care
วันที่ 3 ธันวาคม 2551
Saksiri Sirikul Research