โรคกลุ่มอาการไข้หวัด และ ปอดบวมในเด็ก
สาเหตุ
- จากเชื้อไวรัส
- จากเชื้อแบคทีเรีย
การติดต่อ
- จากการหายใจเอาละออง น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่ฟ้งกระจายอยู่ทั่วไป เข้าไป
- สัมผัส กับเชื้อโรคโดยตรง เช่น การสัมผัส กับละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่ติดอยู่ตามที่ ต่าง ๆ แล้ว เชื้อโรคมีโอกาสผ่านเข้าทางเดินหายใจ
- น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม
- ภาวะโภชนาการไม่ดี
- ไม่ได้กินนมแม่
- ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามกำหนด
- อยู่ในสภาพที่แออัด และการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ไม่ดี
- พ่อแม่สูบบุหรี่
- มีควันไฟในบ้าน
อาการของโรค
แบ่งตามกลุ่มอาการได้ 3 กล่ม1. กลุ่มอาการไม่รุนแรง ได้แก่ ไข้หวัด มีอาการดังนี้
* อาการไข้ มักเป็นไข้ต่ำ ๆ
* ปวดศีรษะ
* ไอเล็กน้อย
* น้ำมูกไหล หรือคัดจมูก
* อ่อนเพลีย
* เบื่ออาหาร
* อาจเจ็บคอหรือคอแดงเล็กน้อย
(อาการเหล่านี้จะหายได้เองใน 3-4 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์)
2. กลุ่มอาการรุ่นแรงปานกลาง ได้แก่
* ไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกิน 3 วัน
* มีไข้ ไอมาก อาการไม่ดีขึ้น เกิน 7 วัน
* เจ็บหู มีหนองไหลจากรูหู
* ไอเสียงก้อง หรือหายใจลำบาก หายใจเร็วกว่า 40 ครั้ง/นาที (หรือ 50 ครั้ง / นาที ในเด็กทารก อายุต่ำกว่า 1 ปี)
(ผู้ป่วยที่มีอาการในกลุ่มอาการรุนแรงปานกลางนี้ ต้องไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข )
3. กลุ่มอาการรุนแรงมาก ได้แก่อาการดังนี้
* ไข้สูงมาก
* ไอมาก
* เหนี่อยหอบ จมูกบาน หายใจมีเสียงดังวี๊ด ๆ
* หายใจเข้าชายโครงบุ๋ม หรือบริเวณคอระหว่าง หัวของไหปลาร้าบุ๋ม
* อาจมีอาการชัก -หอบจนริมฝีปาก เล็บมือ และเล็บเท้า เขียวคล้ำ (ผู้ป่วยที่มีอาการในกลุ่มอาการรุนแรงมาก จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล)
การปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการ
- ดื่มน้ำมาก ๆ
- อย่าอดอาหาร
- นอนพักผ่อนมาก ๆ ในที่ ๆ ทีอากาศถ่ายเทดี
- ในเด็ก ไม่ควรห่มผ้าหนา
- เช็ดตัวบ่อย ๆ เมื่อมีไข้สูง
- ให้กินยาลดไข้พวกพาราเซตามอลได้เป็นครั้งคราว เมื่อมีไข้
- ไม่ต้องใช้ยาปฏิขีวนะ
- ไม่แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ผู้ป่วยควนปิดปากและจมูก เมื่อไอหรือจาม
- หมั่นสังเกตอาการที่แสดงว่าจะมีอาการรุนแรง เช่น
- ไข้สูงมากเกิน 3 วัน
- มีไข้ ไอมาก เกิน 7 วัน
- เจ็บหู
- ชัก ฯลฯ
ถ้ามีอาการดังกล่าวควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์
การป้องกัน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่อยู่ในที่ แออัด และพักผ่อนให้เพียงพอ
- ควรนำเด็กไปรับวัคซีนป้องกันโรคหัด คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ วัณโรค ให้ครบตามกำหนดนัดของแพทย์
- รักษาร่างกายให้อบอ่นอยู่เสมอ โดยเฉาพะ เมื่อมอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น เย็นจัด ชื้นจัด ต้องให้เด็กได้รับความอบอุ่น พอควรถ้าเปียกฝนต้องเช็ดให้แห้ง
- ผู้ใหญ่ไม่ควรสูบบุหรี่เพราะควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อเด็ก
- พอแม่ควรรู้อาการบ่งชี้ว่า เมื่อใดต้องพบแพทย์
- อย่าคลุกคลีกับคนที่เป็นหวัดหรือปอดบวม
ข้อมูล กองส่งเสริม กระทรวงสาธารณสุข,"โรคกลุ่มอาการไข้หวัด และปอดบวมในเด็ก ".: มกราคม 2540
Saksiri Sirikul Research