มะเร็งเต้านม (Breast cancer)

มะเร็งเต้านม พบบ่อยในหญิงไทยเป็นอันดับสองรองจาก มะเร็งปากมดลูก มักพบในหญิงอายุ 30-40 ปีขึ้นไป หญิงที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย และผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นมะเร็งเต้านม ส่วนหญิงที่อายุน้อยหรือ ผู้ชายก็อาจเป็นมะเร็งเต้านมได้แต่พบน้อย
สาเหตุ
สาเหตุการเกิดโรค ยังไม่ทราบแน่นอน แต่อาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนส่งเสริมให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ เช่น เพศ อายุ กรรมพันธุ์ อาหารที่มีไขมันสูง ระบบ ภูมิคุ้มกันในร่างกายฮอร์โมน เชื้อไวรัส และสารเคมีต่าง ๆ เป็นต้นอาการของโรค
- มะเร็งเต้านมมักเป็นที่ส่วนบนต้านนอกของเต้านมมากกว่าส่วนอื่นโดยเริ่มด้วยการมีก้อนเล็ก ๆ เกิดขึ้นส่วนมากไม่มีอาการเจ็บปวด
- ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เต้านมใหญ่ขึ้น บางชนิดทำให้เต้านมแข็งขึ้น หรือแบนเล็กลงได้
- ก้อนมะเร็งอาจดึงรั่งให้หัวนมบุ๋มเข้าไปจากระดับเดิ่ หรือทำให้ผิวหนังบริเวณเต้านมหญาบ ขรุขระ เหมือน ผิวส้ม บางราย ถ้ากด บริเวณหัวนม จะมีน้ำเหลือง หรือน้ำเลือด ไหลซึม ออกมา
- มะเร็งจะลุกลาม แพร่กระจายจากตำแหน่งที่เกิดไปอย่างรวดเร็ว ตามหลอดน้ำเหลือง เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณ รักแร้ หรือ ลุกลามเข้าหลอดเลือดสู่อวัยวะ อื่น ๆ
- ในระยะหลัง เนื้อมะเร็งบางส่วนจะเน่าตาย ทำให้เกิดเป็นแผลขยายกว้าง มีกลิ่นเหม็นจัด มีหนอง หรือเลือดไหลออกมาจากแผล
การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ควรตรวจภายใน 7-10 วัน ของรอบเดือน โดยนับจากวันแรกของการมีประจำเดือน หรือ ทุกเดือนหลังจากหมดประจำ เดือนแล้ว การตรวจเต้านมอย่างถูกวิธี จะช่วยให้พบสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในระยะเริ่มแรกได้ โดยมี้นตอนการตรวจ ดังนี้
ขั้นที่ 1 การตรวจในขณะอาบน้ำ
ขนะอาบน้ำผิวหนังจะเปียกและลื่น ช่วยให้ตรวจได้ง่ายขึ้นโดยใช้ฝ่ามือนิวมือคลำ และเคลื่อนในลักษณะคลึงเบา ๆ ให้ทั่ว ทุกส่วนของเต้านม เพื่อค้นหา ก้อนหรือเนื้อที่แข็งเป็นไต หลังอาบน้ำเสร็จแล้วจึงทำการตรวจขึ้นต่อไป

ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 2 การตรวจหน้ากระจก
ก. ยืนตรงมือแนบลำตัวให้สังเกตุเต้านมทั้งสองข้างต่อไปยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ สังเกตลักษณะเต้านมว่ามีการดึงรั้งของผิวหนังบริเวณเต้านมส่วนใด หรือระดับเต้านมเท่ากันหรือไม่
ข. ยกมือเท้าสะเอว เอามือกดสะโพกแรง ๆ เพื่อให้เกิดการเกร็ง และหดตัวของกล้ามเนื้ออก สังเกตุว่ามีรอยนูนหรือบุ๋มที่ผิวหนังของเต้านมหรือไม่

ขั้นที่ 3 การตรวจในท่านอน
นอน หงายใช้หมอนใบเล็ก ๆ หนุนใต้สะบักข้างที่จะตรวจให้อกเด่นขึ้น และยกมือไว้ไต้ศีรษะ แล้วใช้ฝ่านิ้วมืออีกข้างหนึ่ง คลำให้ทั่ว ๆ ทุกส่วน ของเต้านมใช้มือซ้ายตรวจเต้านมด้านขวาใช้มือขวาตรวจเต้านมด้านซ้ายในลักษณะ เดียวกัน

การ ตรวจเต้านมแต่ละข้าง ให้เริ่มต้นที่บริเวณเต้านมด้านรักแร้ (จุด x ในภาพ) เวียนไปโดยรอบเต้านมแล้วเคลื่อนมือขยับมาเป็นวงแคบ จนถึง บริเวณหัวนม พยายามคลำให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม ตอนสุดท้ายให้กดรอบ ๆ หัวนม หรือบีบ หัวนมเบา ๆ ทั้งสองข้าง เพื่อสังเกตุดูว่ามีน้ำเลือด น้ำหนอง หรือน้ำใส ๆ ออกจากหัวนมหรือไม่
ข้อมูล สำนักงานอนามัย.มะเร็งเต้านม , 1: เมษายน 2539
Saksiri Sirikul Research