มะเร็งปอด (Lung Cancer)

picture from :http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/imagepages/19349.htm
มะเร็งปอดพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นที่เชื่อกันในวงการแพทย์ปัจจุบันว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด มีดังนี้ คือ
- การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน ๆ มีส่วนสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปอด กล่าวคือ 80% ของผู้ที่เป็นมะเร็งปอดสูบบุหรี่จัด ซึ่งเกณฑ์ที่ถือว่าสูบบุหรี่จัด ได้แก่ การสูบบุหรี่ อย่างน้อยวันละ 20 มวน ติดต่อกัน 20 ปี ขึ้นไป หรืออย่างน้อย วันละ 10 มวน สูบติดต่อกันประมาณ 30 ปีขึ้นไป
- ความสกปรกของอากาศในเมืองใหญ่ ๆ ทำให้ภาวะอากาศเป็ฯพิษ เกิดจากควันดำของท่อไอเสีย ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมทั้งผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเหมืองแร่ เช่น แอสเบสตอส นิเกล และสารกัมมันตภาพรังสี เป็นต้น
- แผลเป็นในปอด อันเป็นผลมาจากการเป็นโรคเรื้อรังมานาน เช่น วัณโรคปอด ซึ่งอาจจะเป็นจุดก่อให้เกิด มะเร็งได้
อาการของโรค
ระยะเริ่มแรกของโรค ไม่มีอาการใดใดที่บ่งได้อย่างชัดเจนว่าเป็นมะเร็งปอด เช่น- ไอเรื้อรัง ลักษณะไอแห้ง ๆ อยู่นานกว่าธรรมดา บางครั้งมีเสมหะ หรือมีเลือดออกเป็นเพียงสาย ๆ ติดปนกับเสมหะออกมา
- น้ำหนักลด เบื่ออาการ ซีด อ่อนเพลีย
- ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก
อาการดังเกล่าวอาจไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา ต่อเมื่อโรคลุกลามไปมากแล้วโอกาสที่จะรักษา ให้หายก็จะลดน้อยลง
การวินิจฉัยโรค
สามารถกระทำได้ดังนี้1. ถ่ายภาพเอ็กซ์เรีย์ปอด
2. ตรวจเสมหะที่ไออกมา เพื่อหาเซลล์มะเร็ง
3. ส่งกล้องตรวจดูภายในหลอดลม
4. ขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลมหรือต่อมน้ำเหลือง เหนือไหปลาร้า เพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา
การรักษา
เมื่อพบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดแน่นอนแล้ว แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าผู้ป่ายควรจะได้รับการรัษาแบบใดจึงจะเหมาะ สมที่สุด โดยพิจารณาถึงอายุ ภาวะ ความแข็งแรงของร่างกายระยะของโรค ชนิดของขชิ้นเนื้อและการยอมรับของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาจะประกอบด้วย1. การผ่าตัด
2. การฉายแสง
3. เคมีบำบัด
มะเร็งปอดเป็นโรคร้ายที่รักษาให้หายได้ถ้าท่านมาพบแพทย์ในระยะเริ่มแรก และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพยท์อย่าง เคร่งครัด
การป้องกัน
เหตุส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งปอดมีหลายประการ สาเหตุบางอย่างอาจป้องกันได้ยากแต่สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่สืบเนื่องจากการสูบบุหรี่นั้นเป็นสิ่งที่เราอาจป้องกันได้และการไม่สูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่ จะช่วยลดอัตราการเป็น มะเร็งปอดได้อย่างมาก จะช่วยให้มีสุขภาพสมบูรณ์ปราศจากโรคที่มีสาเหตุจากบุหรี่ นอกจากนั้นจังเป็นผลดีต่อบุคคล ใกล้เคียงตลอดจนต่อเศรษฐกิจส่วนตัว และส่วนรวมด้วยข้อมูล : สิงหาคม 2541

Saksiri Sirikul Research