โครงกระดูก Skeleton
โครงกระดูกทำหน้าที่ค้ำจุนร่างกายให้คงรูปร่างช่วงป้องกันอวัยวะภายในที่บอบบาง เช่น หัวใจ มิให้ได้รับอันตราย และเป็นที่ยึดเกาะสำหรับ เอ็นกล้ามเนื้อให้การเคลือนไหวร่างกาย
กระดูกแบน ทำหน้าที่เป็นเกาะป้องกันอันตรายและยึดกล้ามเนื้อ เช่น กระดูกซี่โครง

กระดูกสั้น เป็นกระดูกที่มีลักษณะเป็นก้อนซึ่งมีความกว้างและยาวเกือบเท่ากัน เช่นกระดูกข้อมือ และกระดูกข้อเท้า

กระดูกรูปทรงไม่เป็นระเบียบ หมายถึงกระดูกที่มีรูปร่างซับซ้อน ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มกระดูกชนิดอื่นได้ เช่นกระดูกสันหลัง

กระดูกยาว เป็นกระดูกที่มีความยาวมากกว่าความกว้าง มักจะโค้งเล็กน้อย เพื่อความแข็งแรง ตัวอย่างเช่น กระดูกนิ้ว


โครงกระดูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

ข้อต่อสะโพก เป็นข้อต่อแบบ "ลูกกลมในเบ้า" ปลายกระดูกข้างหลังมีลักษณะเป็นหัวกลม สวมอยู่ในเบ้ารูปร่างคล้ายถ้วยของปลายกระดูกอีกชิ้น ทำให้หมุนขาได้หลายทิศทาง

ข้อเข่า เป็นข้อต่อแบบ "บานพับ" มีลักษณะคล้ายบานพับ ทำให้เคลื่อนไหวขาได้เพียงสองทิศทางคือ งอขาและเหยียดขา

ข้อมือ เป็นข้อต่อแบบ "บดเลื่อน" มีพื้นผิวแบนเรียบและกระดูกเคลื่อนที่ในลักษณะไถลเลื่อนบดกันไปมา

กระดูกคอ ข้อต่อแบบ "เดือยหมุน" พบในข้อต่อระหว่างกระดูกคอ ชิ้นที่ 1 และชิ้นที่ 2 โดยกระดูกคอชิ้นที่ 2 มีลักษณะเป็นเดือยตั้งให้กระดูกคือชิ้นที่ 1
กระดูกแต่ละชิ้นปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อบาง ๆ ที่เรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก ซึ่งยรรจุด้วยเซลล์ที่สร้างความเจริญเติบโตและซ่อมแซมกระดูก ภายในกระดูกประกอบด้วยหลอดเลือดเส้นประกสท และเซลล์กระดูก (osteocyte) อยู่รวมกันภายในกระดูกต้นขา

กระดูกฟ่าม (Spongy bone) มีเนื้อกระดูกลักษณะเป็นกิ่งประสานกันเป็นร่างแหเรียกว่า เสี้ยนกระดูก (trabeculae) จึงมีช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างเนื้อกระดูก เนื้อเยื่อที่เบาและแข็งแรงนี้มักพบในกระดูกสั้น กระดูกแบน และที่ปลายของกระดูกยาว

กระดูกเนื้อแน่น (Compact bone) มีเนื้อกระดูกเป็นแผ่นเรียงซ้อนกันแน่นเป็นวง ชั้นนอกของกระดูกร่างกายทั้งหมดเป็นกระดูกเนื้อแน่น

เซลล์กระดูกอยู่ในช่องเล็ก ๆ เรียกว่า ลาคูน่า (Lacuna)
ช่องโวล์กแมน (Volkmann's canal) ประกอบด้วยหลอดเลือดเล็ก ๆ และเส้นประกสาทที่ไปเลี้ยงเซลล์กระดูก
ช่องฮาเวอร์เซียน (Haversian canal) เป็นช่องทางเดินหลอดเลือดในกระดูก
Kirsteen Rogers & Corinne Henderson

ชนิดของโครงกระดูก
กระดูกภายในร่างกายแบ่งตามลักษระรูปร่างออกเป็น 4 ชนิดกระดูกแบน ทำหน้าที่เป็นเกาะป้องกันอันตรายและยึดกล้ามเนื้อ เช่น กระดูกซี่โครง

กระดูกสั้น เป็นกระดูกที่มีลักษณะเป็นก้อนซึ่งมีความกว้างและยาวเกือบเท่ากัน เช่นกระดูกข้อมือ และกระดูกข้อเท้า

กระดูกรูปทรงไม่เป็นระเบียบ หมายถึงกระดูกที่มีรูปร่างซับซ้อน ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มกระดูกชนิดอื่นได้ เช่นกระดูกสันหลัง

กระดูกยาว เป็นกระดูกที่มีความยาวมากกว่าความกว้าง มักจะโค้งเล็กน้อย เพื่อความแข็งแรง ตัวอย่างเช่น กระดูกนิ้ว

การจำแนกโครงกระดูก

โครงกระดูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- โครงกระดูกแกนหลัก (สีเหลือง)ประกอบด้วยกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง และกระดูกซี่โครง ซึ่งเรียงตัวตามแนวดิ่งของเส้นสมมุติกลางลำตัว
- โครงกระดูกรยางค์ (สีขาว) ประกอบด้วยกระดูกที่เรียงตัวอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของเส้นสมมุติกลางลำตัว ได้แก่ กระดูกแขน กระดูกขา กระดูกหัวไหล่ กระดูกเชิงกราน
ชนิดของข้อต่อ
ข้อต่อเป็นบริเวณที่กระดูกมาต่อกัน ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวได้ ยกเว้นบางแห่ง เช่น ข้อต่อระหว่ากระดูกในกะโหลกศีรษะจะยึดติดกันแน่น ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้แบ่งออกเป็นหลายแบบ ข้อต่อพวกนี้เรียกว่า ข้อแต่แบบมีไขข้อ (synovial joint) เพราะภายในประกอบด้วยน้ำหล่อลื่นที่เรียกว่า น้ำไขข้อ (synovial fluid)
ข้อต่อสะโพก เป็นข้อต่อแบบ "ลูกกลมในเบ้า" ปลายกระดูกข้างหลังมีลักษณะเป็นหัวกลม สวมอยู่ในเบ้ารูปร่างคล้ายถ้วยของปลายกระดูกอีกชิ้น ทำให้หมุนขาได้หลายทิศทาง

ข้อเข่า เป็นข้อต่อแบบ "บานพับ" มีลักษณะคล้ายบานพับ ทำให้เคลื่อนไหวขาได้เพียงสองทิศทางคือ งอขาและเหยียดขา

ข้อมือ เป็นข้อต่อแบบ "บดเลื่อน" มีพื้นผิวแบนเรียบและกระดูกเคลื่อนที่ในลักษณะไถลเลื่อนบดกันไปมา

กระดูกคอ ข้อต่อแบบ "เดือยหมุน" พบในข้อต่อระหว่างกระดูกคอ ชิ้นที่ 1 และชิ้นที่ 2 โดยกระดูกคอชิ้นที่ 2 มีลักษณะเป็นเดือยตั้งให้กระดูกคือชิ้นที่ 1
โครงสร้างภายในกระดูก
กระดูกแต่ละชิ้นปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อบาง ๆ ที่เรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก ซึ่งยรรจุด้วยเซลล์ที่สร้างความเจริญเติบโตและซ่อมแซมกระดูก ภายในกระดูกประกอบด้วยหลอดเลือดเส้นประกสท และเซลล์กระดูก (osteocyte) อยู่รวมกันภายในกระดูกต้นขา
กระดูกฟ่าม (Spongy bone) มีเนื้อกระดูกลักษณะเป็นกิ่งประสานกันเป็นร่างแหเรียกว่า เสี้ยนกระดูก (trabeculae) จึงมีช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างเนื้อกระดูก เนื้อเยื่อที่เบาและแข็งแรงนี้มักพบในกระดูกสั้น กระดูกแบน และที่ปลายของกระดูกยาว

กระดูกเนื้อแน่น (Compact bone) มีเนื้อกระดูกเป็นแผ่นเรียงซ้อนกันแน่นเป็นวง ชั้นนอกของกระดูกร่างกายทั้งหมดเป็นกระดูกเนื้อแน่น

เซลล์กระดูกอยู่ในช่องเล็ก ๆ เรียกว่า ลาคูน่า (Lacuna)
ช่องโวล์กแมน (Volkmann's canal) ประกอบด้วยหลอดเลือดเล็ก ๆ และเส้นประกสาทที่ไปเลี้ยงเซลล์กระดูก
ช่องฮาเวอร์เซียน (Haversian canal) เป็นช่องทางเดินหลอดเลือดในกระดูก
- http://healthguide.howstuffworks.com/skeleton-picture.htm รูปโครงกระดูกรูปแรก
- http://www.usborne-quicklinks.com ภาพกระกอบอื่น ๆ ทั้งหมด
- KidsHealth movie bone and skeleton system
- กระโหลกศีรษะ
- Joints in the Human Skeleton
- การเดินทาง 2 มิติผ่านกระดูกทั้งหมดของคุณ
Kirsteen Rogers & Corinne Henderson